ข่าวที่เป็นที่สนใจกันมากในตอนนี้ คือข่าวที่อัยการมีคำสั่งไม่ฟ้อง บอส อยู่วิทยา กรณีเกิดอุบัติเหตุเมื่อปี 2555 ส่งผลให้ดาบวิเชียร กลั่นประเสริฐ เสียชีวิต
หนึ่งใน “หลักฐาน” สำคัญที่อัยการใช้เป็นเหตุผลในการสั่งไม่ฟ้อง คือการที่มีผู้เชี่ยวชาญ อาจารย์สายประสิทธิ์ เกิดนิยม มาให้ความเห็นว่ารถของบอสมีความเร็วเฉลี่ยเพียง 76.175 กม./ชม. เท่านั้น จากเดิมที่สำนักงานพิสูจน์หลักฐานกลางให้ไว้ที่ 177±17 กม./ชม. ซึ่งลดลงกว่าครึ่งนึงเลยทีเดียว ทำให้เกิดความฉงนงงงวยว่าคำนวณมาได้อย่างไร
วันนี้เราจะมาลองดูกัน
การคำนวณความเร็วของเดิม
วิธีเดิมที่กองพิสูจน์หลักฐานใช้ในการคำนวณความเร็วรถ คือใช้ระยะทางถนนที่กล้องวงจรปิดจับได้ ซึ่งคือประมาณ 31±2 เมตร) หารด้วยเวลาที่รถใช้ในการเดินทางผ่านระยะทางนั้น ซึ่งคิดจากจำนวนเฟรมที่ใช้ ได้ประมาณ 0.6 วินาที ทำให้สามารถคำนวณความเร็วโดยประมาณได้ว่าเป็น 177 กม./ชม.
การคำนวณความเร็ววิธีใหม่
วันนี้ รายการตอบโจทย์ เชิญอาจารย์สายประสิทธิ์ เกิดนิยม ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยยานยนต์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และเป็นผู้เชี่ยวชาญที่ให้ความเห็นที่ทำให้อัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องมาออกอากาศ อาจารย์ได้อธิบายวิธีคำนวณดังคลิปด้านล่าง
ภาพที่อาจารย์ใช้อธิบาย ก็ตามด้านล่างนี่เลย (ต้องขออภัยด้วยที่ไม่ชัด เพราะแคปมาจาก YouTube ที่แคปมาจาก slide ของอาจารย์ ที่มีรูปที่ถ่ายมาจากจอที่เล่นวีดีโอกล้องวงจรปิดอีกที)
อธิบายง่าย ๆ ก็คือว่า เรามีจุดอ้างอิงอันนึง ในที่นี้คือขอบขวาของต้นไม้ ในเฟรมที่ 651 มุมขวาหน้าของรถผ่านจุดนั้น… หลังจากนั้นถัดไปอีก 24–26 เฟรม (เฟรมที่ 675–677) มุมซ้ายหลังของรถก็ผ่านจุดเดียวกัน ดังนั้น ก็สามารถคำนวณความเร็วได้ จากระยะห่างระหว่างมุมซ้ายหน้ากับมุมขวาหลัง ซึ่งก็คือความยาวเส้นทแยงมุมของรถ หารด้วยเวลาที่ใช้ ออกมาได้ 76.175 กม./ชม. นั่นเอง
ฟังดูไม่ซับซ้อนเลยใช่มั้ยครับ
ลองเปลี่ยนมุมมอง
หลายครั้งเราสามารถ “เช็ค” ความคิดของเราได้ด้วยการวาดรูปครับ
จากรูป ถ้า “ผู้สังเกตการณ์” (ในที่นี้คือกล้องวงจรปิด) มองตามเส้นประ ผ่านจุดอ้างอิง (ต้นไม้) ระยะที่รถเคลื่อนไปจากขณะที่มุมขวาหน้าของรถเคลื่อนผ่านเส้นประ ไปจนถึงขณะที่มุมซ้ายหลังของรถเคลื่อนผ่านเส้นประ ปรากฎตามภาพด้านบน
แต่ถ้าใช้วิธีที่อาจารย์สายประสิทธิ์คำนวณ ซึ่งคิดว่าในช่วงเวลาดังกล่าว รถเคลื่อนที่ไปได้ตามระยะของเส้นทแยงมุมของรถ (ระยะสีส้ม) เท่านั้น ซึ่งเป็นระยะที่น้อยกว่าระยะที่เกิดขึ้นจริง (ระยะสีเขียว)
Noteระยะจริงจะเป็นเท่าไหร่นั้น ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของผู้สังเกตการณ์ จุดอ้างอิง และระยะห่างของรถจากจุดอ้างอิง
แล้ววิธีของอาจารย์นี่จะถูกได้เมื่อไหร่
ถ้ามาคิดดี ๆ แล้ว วิธีเดียวที่เราจะเห็น
- รถเคลื่อนไปด้วยระยะทางเท่ากับเส้นทแยงมุมของรถ
- จุดเริ่ม อยู่ที่มุมขวาหน้าของรถ
- จุดจบ อยู่ที่มุมซ้ายหลังของรถ
ก็จะต้องเป็นตามรูปด้านล่างเท่านั้น เรียกได้ว่าต้องดริฟท์มาเลยทีเดียว (หมายถึงรถนะ ไม่ใช่คำอธิบาย)
จะเห็นได้ว่า วิธีคำนวณของอาจารย์สายประสิทธิ์ ซึ่งเป็นสิ่งที่อัยการใช้เป็นหนึ่งในเหตุผลหลักที่มีคำสั่งไม่ฟ้องนั้น มีจุดอ่อนที่ค่อนข้างใหญ่มากอยู่
จุดที่ชน
สิ่งนึงที่อาจารย์บอกว่าอาจารย์ใช้ในการ cross-check ผลการคำนวณ คือการที่ความเร็วรถทั้งสองคันที่อาจารย์คำนวณมา (รถมอเตอร์ไซค์ 30 กม./ชม. รถยนต์ 76.175 กม./ชม.) สามารถคาดการณ์จุดที่เกิดอุบัติเหตุได้อย่างถูกต้อง (ตามรูปด้านล่าง)
แต่อาจารย์อาจจะลืมไป ว่าไม่ได้มีความเร็วเพียงคู่เดียวที่ทำให้เกิดจุดชนนี้ได้
สมมติว่ารถมอเตอร์ไซค์วิ่งมาด้วยความเร็ว ผ่านจุดอ้างอิง (คือต้นไม้) หลังจากเวลาผ่านไป รถยนต์ที่มาด้วยความเร็ว ก็ผ่านจุดอ้างอิงเดียวกัน ในเวลานั้น จากนั้นทั้งสองคันก็วิ่งไปจนเวลาผ่านไปอีก จึงชนกัน
ตั้งสมการ (ไม่ได้ใช้คำนี้มานานมาก) ได้สองสมการ สมการแรกเป็นของรถยนต์ คือระยะเท่ากับความเร็วคูณเวลา
อีกสมการเป็นของรถมอเตอร์ไซค์ ซึ่งใช้เวลา ในการวิ่งระยะ ด้วยความเร็ว
แทนค่า ที่ได้จากสมการแรก จะได้ว่า
สิ่งที่เรารู้คือ (ดูจากกล้องวงจรปิด) และ (ระยะระหว่างจุดอ้างอิงกับจุดเกิดเหตุ) และมีตัวแปรที่ไม่ทราบค่าอยู่สองตัว คือ กับ นั่นก็แปลว่า สำหรับค่า ใด ๆ ก็จะมีค่า ที่ทำให้จุดเกิดเหตุอยู่ห่างจากจุดอ้างอิงไป เหมือนกัน
ลองแทนค่า และ ตามภาพของอาจารย์สายประสิทธิ์ข้างต้น สมมติว่ารถเฟอร์รารี่วิ่งมาด้วยความเร็ว 177 กม./ชม. (49.17 m/s) ก็จะได้ว่ารถมอเตอร์ไซค์จะต้องวิ่งด้วยความเร็ว 10.74 m/s หรือ 38.66 กม./ชม. ซึ่งใกล้เคียงกับที่อาจารย์ได้คำนวณไว้ (เนื่องจากความกว้างของมอเตอร์ไซค์ค่อนข้างน้อย ใช้วิธีของอาจารย์จึงไม่คลาดเคลื่อนมากนัก)
ข้อมูลที่มีอยู่อย่างจำกัด
คุณวราวิทย์ ผู้ดำเนินรายการ ได้ถามอาจารย์ในช่วงหนึ่งว่า ทำไมอาจารย์ไม่ใช้วิธีคำนวณเดียวกับที่กองพิสูจน์หลักฐานใช้ คือดูระยะยาว ๆ ทั้งความกว้างของมุมกล้อง
อาจารย์ตอบว่า ไม่สามารถไปจำลองเหตุการณ์ที่จุดเกิดเหตุจริงได้ เพราะอาจารย์ได้รับคำขอให้มาคำนวณความเร็วหลังจากเหตุการณ์ผ่านไปแล้วหลายปี ซึ่งมุมกล้องก็อาจจะเปลี่ยนไปจากเดิมเมื่อปี 2555
อันนี้นับว่าเป็นข้อกังวลที่ถูกต้อง และก็อาจจะช่วยชี้ให้เห็นได้ว่า ข้อมูลที่อาจารย์มี (ซึ่งก็คือภาพจากกล้องวงจรปิด) นั้น น้อยกว่าข้อมูลที่ทีมพิสูจน์หลักฐานมีเป็นอย่างมาก เพราะในปี 2555 ทีมพิสูจน์หลักฐานสามารถไปดูมุมกล้อง วัดระยะทางต่าง ๆ ในที่เกิดเหตุจริงได้
บทสรุป
สุดท้ายแล้ว บทสรุปเรื่องนี้จะออกมาเป็นอย่างไร ก็คงต้องให้ทางเจ้าหน้าที่เค้าสืบเสาะไป ที่มาเขียนนี่แค่ทนไม่ได้กับการวิเคราะห์ที่ถ้าลองวาดรูปดูก็เห็นแล้วว่าไม่ใช่… แล้วข้อผิดผลาดนี้ผ่านตาอาจารย์ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านความปลอดภัยยานยนต์มาได้อย่างไร ผ่านตาทีมตรวจสอบของอัยการมาได้อย่างไร อันนี้ก็ไม่ทราบเหมือนกันครับ